วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Spec computer 10,000 .-

LCD Square 17" Nec (B, Rebuilt) 3,050
Case+suppy 550W 800
USB Kb+Opt.M OKER 275
AMD Sempron LE-140 2.7 GHz. 1,130
ASROCK M3A785GM-LE/128M 2,120
250 GB SATA-II Seagate 1,290
DDR3(1333) 1GB. Blackberry 840
CD Writer 52x32x52 WEARN 360
-------total--------------------------------------9,865----
อ้างอิง www.computerok.co.th/ & www.jib.co.th/

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลเกี่ยวกับความจุของข้อมูล

ความจุข้อมูลหรือขนาดของข้อมูล ที่ใช้เรียกในระบบคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ใช้การวัดขนาดของข้อมูลโดยทั่วไป มีดังนี้

  • - บิต (ฺBit) เป็นหน่วยวัดที่ใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยแต่ละบิตถูกแสดงด้วย ตัวเลขไบนารี่ (ฺBinary Digits) คือ “0″ หรือ “1″ ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงสถานนะการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

  • -ไบต์ (Byte) เป็นหน่วยวัดพื้นฐานที่สำคัญสำหรับใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลหรือไฟล์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดย 1 ไบต์ จะมี 8 บิต ซึ่งสามารถใช้แทนตัวอักษรใดๆ 1 ตัว โดยตัวอักษรนั้นอาจจะเป็นตัวเลข, พยัญชนะ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ

  • - กิโลไบต์ (Kilobyte ตัวย่อคือ KB) จะมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ หรือประมาณ 1,000 ไบต์ (10 ยกกำลัง 10) ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ตัวหรือประมาณ 1 หน้ากระดาษโดยประมาณ

  • - เมกกะไบต์ (Megabyte ตัวย่อคือ MB) จะมีค่าเท่ากับ 1,048,576 ไบต์ (10ยกกำลัง20) หรือประมาณ 1 ล้านไบต์ 10 ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านตัวหรือประมาณหนังสือ 1 เล่มโดยประมาณ

  • - กิกะไบต์ (Gigabyte ตัวย่อคือ GB) เป็นหน่วยวัดที่มักจะใช้บอกความจุของอุปกรณ์จำพวก ฮาร์ดดิสก์, แผ่นดีวีดี และอื่นๆ โดยจะมีค่าเท่ากับ 1,073,741,824 ไบต์ (10 ยกกำลัง30)หรือประมาณ 1 พันล้านไบต์ ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 พันล้านตัวหรือประมาณหนังสือที่ถูกบรรจุอยู่ในตู้หนังสือจำนวน 1 ตู้ โดยประมาณ

  • - เทอราไบต์ (Terabyte ตัวย่อคือ TB) เป็นหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งเทอราไบต์จะมีค่าเท่ากับ 1,099,511,627,776 ไบต์ 10 ยกกำลัง40 หรือประมาณ 1 ล้านล้านไบต์ ซึ่งเที่ยบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านล้านตัวหรือประมาณหนังสือทั้งหมดที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องสมุด 1 ห้องโดยประมาณ

ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้น

มีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 1.5 เทระไบต์

ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว

(241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)

ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว

(146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)

การเเบ่งลักษณะข้อมูลในการประมวลผล

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่แบ่งตามลักษณะ
การประมวลผลนั้น จะหมายถึงการแบ่งตามสัญญาณข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลนั่นเอง

จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ


1. คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer) หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัดและเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด การวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น ครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น


2. คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer) ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับ ทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลา (Clock Time) มาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น


3. คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้นการทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง

มีหลักพิจารณา ดังนี้

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หน่วยที่1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หน่วยที่

2. การทำงานของคอมพิวเตอร์หน่วยที่

3. ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์หน่วยที่

4. ส่วนประกอบแผงวงจรหลักหน่วยที่

5. อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูลหน่วยที่

6. ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์หน่วยที่

7. การติดตั้งสายไฟสัญญาณหน่วยที่

8. ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผลหน่วยที่

9. การจัดการฉาร์ดดิสก์หน่วยที่

10. การติดตั้งระบบปฏิบัติการหน่วยที่

11. การติดตั้งไดร์เวอร์หน่วยที่

12. รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์